วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 11.5 โครงสร้างภายนอกและภายในของใบ


จุดประสงค์ของกิจกรรม
1.            เตรียมเนื้อเยื่อใบตัดขวางเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของใบด้ายกล้องจุลทรรศน์
2.            เปรียบเทียบโครงสร้างภายในใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
3.            สืบค้นข้อมูล  อธิบายลักษณะโครงสร้างภายในใบของใบที่สัมพันธ์กับหน้าที่ของใบ

วัสดุประสงค์
1.            ใบไม้ชนิดต่างๆ  เช่น  ใบถั่ว  ใบกุหลาบ  ใบพู่ระหง  ใบข้าวโพด  ใบกล้วย  ใบว่านกาบหอย
2.            ใบมีดโกน
3.            พู่กัน  เข็มเขี่ย  จานเพาะเชื้อ  และหลอดหยด
4.            กล้องจุลทรรศน์


วิธีการทดลอง
ตอนที่ 1
            สังเกตรูปร่างของใบ  โครงสร้างของใบไม่ชนิดต่างๆ  ได้แก่  ใบถั่ว  ใบกุหลาบ  ใบพู่ระหง  ใบข้าวโพด  ใบกล้วย  และใบว่านกาบหอย  และนับจำนวนใบบนก้านใบ                   บันทึกผลการสังเกต

คำถามก่อนทำกิจกรรม
1.            การทำกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
2.            ลักษณะของใบไม้  แต่ละชนิดว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
คำถามหลังทำกิจกรรม
1.            ลักษณะของใบไม้  แต่ละชนิดเหมือนหรือแตกต่างกัน
2.            รูปร่างของใบไม้มีส่วนสัมพันธ์กับการสร้างอาหารและแหล่งที่อยู่ของพืชอย่างไร
3.            ใบพืชที่นำมาศึกษาชนิดใดเป็นใบประกอบบ้าง
ตอนที่ 2
ศึกษาโครงสร้างภายในของใบพืชตัวอย่างจากตอนที่ โดยปฏิบัติดังนี้
1.ถ้าเป็นใบที่บาง  ม้วนใบไม้ตามความยาวให้แน่นเป็นท่อนกลม  ตัดปลายข้างหนึ่งทิ้งไปประมาณ 1/3 ของความยาวทั้งหมด
2.ถ้าเป็นใบที่หนาและแข็ง  เช่น  ใบว่านกาบหอย  ให้ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ พอจับถือได้ถนัด
3.ใช้ใบมีดโกนคมๆ ตัดม้วนของใบหรือชิ้นของใบตามขวางให้ได้แผ่นบางที่สุดเท่าที่จะบางได้  จำนวนหลายๆชิ้น
4.นำส่วนของใบที่ตัดได้หลายๆชิ้นใส่ลงไปในจานเพาะเชื้อที่มีน้ำ  เลือกชิ้นที่บางที่สุด 2-3 ชิ้น  วางบนหยดน้ำบนสไลด์  ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์  ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ
5.นำสไลด์ที่เตรียมไว้ไปศึกษาโครงสร้างภายในด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วยกำลังขยายต่ำก่อน



ข้อเสนอแนะ
การศึกษาใบพืชตัดจามขวาง  การตัดให้ใบพืชบางออกทำได้อีกวีธีหนึ่งโดยใช้มันเทศหรือไส้ในลำต้นของคะน้า  ตัดเป็นท่อนสี่เหลี่ยมขนาดที่จับได้ถนัดโดยประมาณ 3  cm หน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณ 1 cm ผ่าต้นคะน้าให้ลึกประมาณ 1 cm แล้วสอดชิ้นส่วนของใบพืชที่ต้องการตัดลงไปในรอยผ่านั้นในลักษณะฝังในต้นคะน้า แล้วตัดต้นคะน้าให้เป็นชิ้นส่วนบางๆตามขวาง จะได้ชิ้นส่วนของใบพืชติดมาด้วยในต้นคะน้า แล้วนำไปแช่น้ำจะได้ชิ้นใบพืชหลุดออกมา เลือกชิ้นใบที่บาง  2-3 ชิ้นไปวางบนหยดน้ำบนสไลด์ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ สังเกตลักษณะโครงสร้างภายในด้วยกล้องจุลทรรศน์



คำถามก่อนทำกิจกรรม
1.            การทำกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
2.            นักเรียนคิดว่าโครงสร้างภายในใบของพืชเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
3.            โครงสร้างและการเรียงตัวของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นต่างๆสัมพันธ์กับหน้าที่ของใบหรือไม่  อย่างไร

คำภามหลังทำกิจกรรม
1.            โครงสร้างภายในใบของพืชแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่  อย่างไร
2.            เซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมากจะอยู่ด้านใดของใบ
3.            ไซเลมและโฟลเอ็มในเส้นใบมีการเรียงตัวแตกต่างกันจากรากและลำต้นอย่างไร
4.            โครงสร้างและการเรียงตัวของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นต่างๆสัมพันธ์กับหน้าที่ของใบหรือไม่อย่างไร








บันทึกกิจกรรมที่ 11.5
เรื่อง  โครงสร้างภายนอกและภายในของใบ


ตอบคำถามก่อนทำกิจกรรมที่  ตอนที่ 1
1.            กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ตอบ     เพื่อศึกษาโครงสร้างของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
2.            ลักษณะของใบไม้   แต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ     ตัวใบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่นบางเหมือนกัน  ต่างกันที่ขนาดของใบ  รูปร่างของใบ  ความเข้มของสีใบด้านบนด้านล่างไม่เท่ากัน  ผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง และผิวใบด้านบนจะมันกว่าผิวใบด้านล่าง  อาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้  ขอบใบ  ปลายใบ  อาจมีลักษณะแตกต่างกันไป  ผิวใบบางชนิดอาจมีขนอยู่ด้วย  ลักษณะการเรียงตัวของเส้นใบแตกต่างกัน               


บันทึกผลการทำกิจกรรม  ตอนที่ 1
ผลการศึกษาลักษณะใบไม้ชนิดต่างๆ
ตัวใบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่นบางเหมือนกัน  ต่างกันที่ขนาดของใบ  รูปร่างของใบ  ความเข้มของสีใบด้านบนด้านล่างไม่เท่ากัน  ผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง และผิวใบด้านบนจะมันกว่าผิวใบด้านล่าง  อาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้  ขอบใบ  ปลายใบ  อาจมีลักษณะแตกต่างกันไป  ผิวใบบางชนิดอาจมีขนอยู่ด้วย  ลักษณะการเรียงตัวของเส้นใบแตกต่างกัน 




Compound leaf




ตอบคำถามหลังกิจกรรม  ตอนที่ 1
1.            ลักษณะของใบไม้  แต่ละชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ ตัวใบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่นบางเหมือนกัน  ต่างกันที่ขนาดของใบ  รูปร่างของใบ  ความเข้มของสีใบด้านบนด้านล่างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง และผิวใบด้านบนจะมันกว่าผิวใบด้านล่าง  อาจมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้  ขอบใบ  ปลายใบ  อาจมีลักษณะแตกต่างกันไป  ผิวใบบางชนิดอาจมีขนอยู่ด้วย  ลักษณะการเรียงตัวของเส้นใบแตกต่างกัน
2.            รูปร่างของใบมีส่วนสัมพันธ์กับการสร้างอาหารและแหล่งที่อยู่ของพืชอย่างไร
ตอบ ใบพืชที่บางและกว้างช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวทำให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าใบแคบๆ  พืชที่ขึ้นในที่แห้งแล้งใบมีลักษณะอวบหนา  หรือมีใบขนาดเล็กกว่าใบพืชที่ขึ้นอยู่ในแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์  เพราะต้องเก็บน้ำไว้ใช้หรือลดพื้นที่การคายน้ำ
3.            ใบพืชชนิดใดเป็นใบประกอบบ้าง
ตอบ หลักการสังเกตว่าใบเดี่ยวหรือใบประกอบมีละกษณะแตกต่างกัน ขั้นแรกดูก้านใบก่อนถ้าหนึ่งก้านใบมีใบย่อยหลายๆใบ  ให้ดูว่าใบย่อยที่แยกออกไปไปนี้ที่ซอกใบย่อยมีตาหรือไม่  หรือมีผลติดอยู่หรือไม่   ถ้ามีก็ไม่ใช่ใบประกอบ  ซอกใบย่อยของใบประกอบจะไม่มีตา  และลักษณะการเจริญของใบย่อยจะเจริญพร้อมกันทุกใบ  พืชที่มีใบประกอบ  เช่น  อัญชัน  เล็บมือนาง  แค  โสน โคกกระออม  ทรงบาดาล  กุหลาบ  ก้ามปู  ชุมเห็ด  ขี้เหล็ก  คูณ  กระถิน  หางนกยูง  มะขามเทศ  ปีป  มะรุม  ยางพารา  ส้มกบ  เถาคัน  กลอย  ผักแว่น  นุ่น  หนวดปลาหมึก  พญาสัตบรรณ




สรุปผลการทดลอง  ตอนที่ 1
ตัวใบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่นบางเหมือนกัน  ต่างกันที่ขนาดของใบ  รูปร่างของใบ  ความเข้มของสีใบด้านบนด้านล่างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง และผิวใบด้านบนจะมันกว่าผิวใบด้านล่าง  บางชนิดมีก้านใบหรือไม่มีก็ได้  ขอบใบ  ปลายใบ  แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันไป  ผิวใบบางชนิดอาจมีขนอยู่ด้วย  ลักษณะการเรียงตัวของเส้นใบแตกต่างกัน คือ ใบของพืชใบเลี้ยงคู่เส้นใบเรียงสานกันเป็นร่างแห  ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเส้นใบขนานกัน
ใบเดี่ยวหรือใบประกอบมีลักษณะแตกต่างกัน คือ ใบเดี่ยวหนึ่งก้านใบมีใบย่อยหลายๆใบ ใบย่อยที่แยกออกไปนี้ที่ซอกใบย่อมมีตา  ส่วนใบประกอยซอกใบย่อยจะไม่มีตา และลักษณะการเจริญของใบย่อยจะเจริญพร้อมกันทุกใบ พืชที่มีใบประกอบ เช่น อัญชัน  เล็บมือนาง  แค  โสน โคกกระออม  ทรงบาดาล  กุหลาบ  ก้ามปู  ชุมเห็ด  ขี้เหล็ก  คูณ  กระถิน  หางนกยูง  มะขามเทศ  ปีป  มะรุม  ยางพารา  ส้มกบ  เถาคัน  กลอย  ผักแว่น  นุ่น  หนวดปลาหมึก  พญาสัตบรรณ


ตอบคำถามก่อนกิจกรรม  ตอนที่ 2
1.            กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ตอบ  เพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี่ยงคู่
2.            นักเรียนคิดว่าโครงสร้างภายในใบของพืชแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่  อย่างไร
ตอบ ไม่เหมือน โครงสร้างของพืชใบเลี้ยงคู่ ส้นกลางใบ มัดท่อลำเลียงจะเห็นชัดเจน แต่พืชใบเลี้ยงเดี่ยว  มัดท่อลำเลียงจะมีขนาดเท่ากัน

3.            โครงสร้างและการเรียงตัวของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ สัมพันธ์กับหน้าที่ของใบหรือไม่  อย่างไร
ตอบ     ชั้นนอกสุดเป็นเซลล์เลี้ยงชั้นเดียวเป็นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสมีเซลล์บางเซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นเซลล์คุม  ในเซลล์คุมพบว่ามีคลอโรพลาสต์ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง เซลล์เอพิเดอร์บางเซลล์ สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนเพื่อปกป้องผิวใบ ชั้นถัดจากเอพิเดอร์มิสด้านบนลงมาเป็นเซลล์รูปร่างยาวเรียงชิดกัน เรียกว่า  แพลิเซดมีโซฟิลล์ ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีคลอโรพลาสอยู่หนาแน่นจึงเห็นผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดึงพลังงานแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ชั้นถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมามีขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปเรียงกันอย่างหลวมๆ จึงมีช่องว่างระหว่างเซลล์เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและไอน้ำระหว่างใบกับบรรยากาศเรียกกลุ่มแพลิเซดมีโซฟิลล์ในเนื้อเยื่อชั้นนี้จะมีมัดท่อลำเลียง  แทรกอยู่ มัดที่ใหญ่ที่สุด คือ เส้นกลางใบ ถ้าเป็นเส้นที่กระจายตามแผ่นใบมัดท่อลำเลียง                     จะเล็กกว่าท่อลำเลียงไซเลมจะนำน้ำและแร่ธาตุต่างๆจากรากมาสู่ใบ ท่อลำเลียงโฟลเอ็ม ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงไปยังส่วนลำต้นและราก ทำให้น้ำและสารต่างๆสามารถเคลื่อนย้ายไปทุกๆส่วนของต้นพืชได้
 

บันทึกผลการทำกิจกรรม  ตอนที่ 2
ผลการศึกษาโครงสร้างภายในของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่






ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม  ตอนที่ 2
1.            นักเรียนคิดว่าโครงสร้างภายในใบของพืชแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
ตอบ     ไม่เหมือนกัน โครงสร้างของพืชใบเลี้ยงคู่ เส้นกลางใบ มัดท่อลำเลียง  จะเห็นชัดเจน แต่พืชใบเลี้ยงเดี่ยว มัดท่อลำเลียงจะมีขนาดเท่ากัน
2.            เซลล์ที่มีคลอโรพลาสจำนวนมากจะอยู่ด้านในของใบ
ตอบ     ด้านหลังใบหรือด้านบนของใบ
3.            ไซเลมและโฟลเอ็มในเส้นใบมีดการเรียงตัวแตกต่างจากรากและลำต้นอย่างไร
ตอบ    การเรียงตัวของมักท่อลำเลียงไซเลมและโฟลเอ็มในส้นใบจะแตกต่างจากลำต้น คือ มัดท่อลำเลียงที่มีกลุ่มเนื้อเยื่อไซเลมจะอยู่ทางเอพิเดอร์มิสด้านบน ใกล้กับแพลิเซดมีโซฟิลล์ส่วนเนื้อเยื่อโฟลเอ็มจะอยู่ใกล้กับเอพิเดอร์มิสด้านล่างและระหว่างโฟลเอ็มและโฟลเอ็มกับไซเลมไม่มีแคมเยีบมคั่นกลาง
4.            โครงสร้างและการเรียงตัวของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ สัมพันธ์กับหน้าที่ของใบหรือไม่  อย่างไร
ตอบ     ชั้นนอกสุดเป็นเซลล์เรียงชั้นเดียวเป็นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสมีเซลล์บางเซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นเซลล์คุม ในเซลล์คุมพบว่ามีคลอโรพลาสช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง เซลล์เอพิเดอร์มิสมีบางเซลล์อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนเพื่อปกป้องผิวใบ ชั้นถัดจากเอพิเดอร์มิสด้านบนลงมาเป็ยเซลล์รูปร่างยาวเรียงชิดกัน เรียกว่า แพลิเซดมีโซฟิลล์ ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์จะมีคลอโรพลาสอยู่หนาแน่นจึงเห็นผผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มกว่าผิวใบด้านล่าง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดึงพลังงานแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  ชั้นถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมามีขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปเรียงกันอย่างหลวมๆ จึงมีช่องว่างระหว่างเซลล์เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและไอน้ำระหว่างใบกับบรรยากาศ เรียกกลุ่มแพลิเซดมีโซฟิลล์ ในเนื้อเยื่อชั้นนี้จะมีมัดท่อลำเลียงแทรกอยู่ มัดที่ใหญ่ที่สุดคือเส้นกลางใบ ถ้าเป็นเส้นที่กระจายตามแผ่นใบมัดท่อลำเลียงจะเล็กกว่า ท่อลำเลียงไซเลมจะนำน้ำและแร่ธาตุต่างๆจากรากมาสู่ใบท่อลำเลียงโฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงไปยังส่วนลำต้นและรากทำให้น้ำและสารต่างๆสามารถเคลื่อนย้ายไปทุกๆส่วนของต้นพืชได้


สรุปผลการทำกิจกรรมที่  ตอนที่ 2
โครงสร้างภายในของพืชแต่และชนอดไม่เหมือนกัน โครงสร้างของพืชใบเลี้ยงคู่ เส้นกลางใบมัดท่อลำเลียงจะเห็นชัดเจน แต่พืชใบเลี้ยงเดี่ยว มัดท่อลำเลียงจะมีขนาดเท่ากัน
ชั้นนอกสุดเป็นเซลล์เรียงชั้นเดียวเป็นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสมีเซลล์บางเซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นเซลล์คุม ในเซลล์คุมพบว่ามีคลอโรพลาสช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง เซลล์เอพิเดอร์มิสมีบางเซลล์อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนเพื่อปกป้องผิวใบ ชั้นถัดจากเอพิเดอร์มิสด้านบนลงมาเป็นเซลล์รูปร่างยาวเรียงชิดกัน เรียกว่า แพลิเซดมีโซฟิลล์ ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่และเซลล์จะมีคลอโรพลาสอยู่หนาแน่น ชั้นถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมา มีขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปเรียงกันอย่างหลวมๆ กลุ่มเซลล์เหล่านี้ เรียกว่า สปันจีมีโซฟิลล์ ภายในมีเซลล์มีคลอโรพลาสแต่ไม่หนาแน่นเหมือนแพลิเซดมีโซฟิลล์ ในเนื้อเยื่อชั้นนี้จะมีมัดท่อลำเลียงแทรกอยู่ มัดที่ใหญ่ที่สุก คือ เส้นกลางใบ ถ้าเป็นเส้นที่กระจายตามแผ่นใบมัดท่อลำเลียงจะเล็กกว่า

กิจกรรมที่ 11.5
เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

หน่วยการเรียนรู้  โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก    รายวิชา  ชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว40243
เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของใบ                               ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเติมข้อความลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1.            ใบพืชแบ่งออกเป็นกี่ชนิด  อะไรบ้าง
ตอบ           2  ชนิด คือ ใบแท้(foliage leaf)และ ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ(modified leaf)
2.            ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ(modified leaf) มีอะไรบ้าง พร้อมทั้ง ยกตัวอย่าง
ตอบ         2.1 ใบสะสมอาหาร(storage leaf)  เช่น ใบว่านหางจระเข้ หัวหอม หัวกระเทียม กาบกล้วย กะหล่ำปลี
2.2        ใบดอก(floral leaf) เช่น หน้าวัว อุตพิด คริสต์มาส เฟื่องฟ้า
2.3        ใบประดับ (bract) เช่น กาบปลีของกล้วย กาบเขียงของมะพร้างและหมาก
2.4     ใบเกล็ด (scale leaf) เช่น ใบเกล็ดของโป่งฟ้า ขิง ข่า เผือก แห้วจีน หัวหอม หัวกระเทียม
2.5         เกล็ดหุ้มตา(bud scale) พบในต้นยาง จำปี สาเก
2.6        มือเกาะ (leaf tendril)  เช่น มือเกาะของถั่วลันเตา ถั่งหอม บานบุรีสีม่วง พวกแก้งกุดั่น มะระ กะทกลก ดองดึง หวายลิง
2.7        หนาม(leaf spine) เช่น หนามของต้นเหงือกปลาหมอ หนามของต้นกระบองเพชร หนามมะเขือเทศ หนามของศรนารายณ์
2.8        ฟิลโลด(phyiiode หรือ phyiiodium) เช่น ใบกระถินณรงค์
2.9        ทุ่นลอย (floating leaf)  เช่น ผักตบชวา
2.10 ใบแพร่พันธุ์(reproductive leaf) เช่น ใบของต้นตายใบเป็น (หรือคว่ำตายหงายเป็น)ต้นเศรษฐีพันล้าน ต้นโคมญี่ปุ่น
2.11   ใบจับแมลง (insectivorous leaf หรือ carnivorous leaf) เช่น ต้นหม้ออข้าวหม้อแกงลิง(หรือน้ำเต้าฤาษี) ต้นกาบหอนแครง ต้นหยาดน้ำค้าง ต้นสาหร่าย  ข้าวเหนียวหรือสาหร่ายนา
3.            ใบพืชมีส่วนประกอบ  3 ส่วน กี่ส่วน
ตอบ     ตัวใบ(lamina หรือ blade) ก้านใบ (petiole หรือ stalk ) และหูใบ(stipule)
4.            ส่วนต่างๆ ของใบตามขวาง ประกอบด้วยชั้นต่างๆ กี่ชั้น
ตอบ     3 ชั้น ได้แก่
1.            เอพิเดอร์มิส(epidermis) เป็นเยื่อใบที่อยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ
2.            มีโซฟิลล์(mesophyll) เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่มีอยู่ระหว่างเอพิเดอร์มิสด้านบนและเอพิเดอร์มิสด้านล่าง
3.            มัดท่อลำเลียง(vascular bundle)คือส่วนของเส้นใบขนาดต่างๆกันอยู่ที่ภายในเนื้อใบมัดท่อลำเลียงประกอลด้วยไซเลมแลพโฟลเอมมาเรียงติดต่อกันเป็นเส้นใบ มัดท่อลำเลียงมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า บันเดิลชีท(bundle sheath) ล้อมรอบ

5.            จงบอกส่วนต่างๆของใบจากพืชต่อไปนี้




ตอบ     5.1 โครงสร้างหมายเลข 1       คือ คิวทิเคิล (cuticle)
5.2 โครงสร้างหมายเลข 2       คือ เอพิเดอร์มิสด้านบน (uperepidermis)
5.3 โครงสร้างหมายเลข 3       คือ พาลิเซดมีโซฟิลล์ (paljsade mesophyll)
5.4 โครงสร้างหมายเลข 4       คือ มีโซฟิลล์ (mesophyll)
            5.5 โครงสร้างหมายเลข 5       คือ สปันจีมีโซฟิลล์(spongy mesophyll)
5.6 โครงสร้างหมายเลข 6       คือ ไซเลม (xylem)
5.7 โครงสร้างหมายเลข 7       คือ โฟลเอม (phloem)
5.8 โครงสร้างหมายเลข 8       คือ บันเดิลชีท (bundle sheath)
5.9 โครงสร้างหมายเลข 9       คือ เซลล์คุม (guard cell)
5.10โครงสร้างหมายเลข 10    คือ ปากใบ (stomata
6.            ใบพืชมีหน้าที่ที่สำคัญอะไรบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ     1.1 สังเคราะห์ด้วยแสง(photosynthesis) : เพื่อสร้างอาหารให้แก่พืช
1.2 หายใจ(respiration) : เพื่อสร้างพลังงานของแสง
1.3 คายน้ำ (tranpiration) : เพื่อลดอุณหภูมิของใบและลำเลียงน้ำ เกลือแร่ และอาการให้แก่พืช
1.4 ยึดหรือค้ำจุนลำต้น : โดยเปลี่ยนไปเป็นมือเกาะ
1.5 สะสมอาหารและน้ำ เช่น กาบกล้วย ใบว่านหางจระเข้ กลับหัวบัว
1.6 แพร่พันธุ์ เช่น ใบต้นตายใบเป็นหรือเศรษฐีพันล้าน  ทองสามย่าน
1.7 ป้องกันลำต้น ด้วยการเปลี่ยนใบเป็นหนาม เช่น หนามเหงือกปลาหมอ   หนามกระบองเพชร
1.8 ช่วยผสมเกสร : โดยเปลี่ยนเป็นกลีบดอกและใบประดับสีต่างๆ เพื่อล่อแมลง
1.9 ป้องกันยอดอ่อนหรือใบอ่อน เช่น เปลี่ยนเป็นเกล็ดหุ้มตา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น