วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 11.4 โครงสร้างภายในของลำต้น


กิจกรรมที่ 11.4
เรื่อง  โครงสร้างภายในของลำต้นพืช


จุดประสงค์ของกิจกรรม
1.            สำรวจตรวจสอบโครงสร้างภายนอกและภายในของลำต้นที่ตัดตามขวางโดยเรียงจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดจนถึงชั้นใน
2.            สืบค้นข้อมูล อภิปราย และเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
3.            สืบค้น อภิปราย และเปรียบเทียบเนื้อเยื่อชั้นต่างๆระหว่างรากและลำต้น
4.            เตรียมเนื้อเยื่อรากตัดตามขวางเพื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์
  
วัสดุอุปกรณ์
1.            ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดต่างๆ  เช่น  ถั่ว จามจุรี หมอน้อย(หญ้าละออง)  และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  เช่น  ข้าว  ข้าวโพด  หรือหญ้าขน
2.            ใบมีดโกน
3.            สีซาฟรานีน  หรือสีผสมอาหารสีแดงความเข้มข้น 1 %
4.            พู่กัน  เข็มเขี่ย  จานเพาะเชื้อ  และหลอดหยด
5.            สไลด์  และกระจกปิดสไลด์
6.            กล้องจุลทรรศน์

วิธีการทดลอง
นำลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่  คือ  ถั่วเขียว หมอน้อย  และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่เพาะไว้  คือ ข้าวโพด  ข้าว  มาทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการศึกษาโครงสร้างภายในที่มีการเจริญเติบโตขั้นแรกจากบริเวณใกล้ยอดหรือบริเวณเหนือแนวโค้งเมื่อโน้มปลายยอดให้โค้งลงและการเจริญเติบโตขั้นที่สองจากบริเวณที่อยู่ใต้แนวโค้งหรือบริเวณใกล้โคนต้น

 ---------------------------------------------------------------------------------

 
บันทึกกิจกรรมที่ 11.4
เรื่อง  โครงสร้างภายในของลำต้นพืช

ตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม  ตอนที่ 1
1.  กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ตอบ     ศึกษาและเปรียบเทียบโครงสร้างภายในของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
2.  นักเรียนคิดว่าเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ และการจัดเรียงตัวของท่อลำเลียงในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่  และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   ไม่เหมือนกัน  การจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงเป็นระเบียบในขณะที่เนื้อเยื่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเรียงตัวกระจัดกระจาย

บันทึกผลการทดลอง




 นำต้นพืชใบเลี้ยงคู่  เช่น  ต้นหมอน้อย (Vernonia spp.)  ถั่วเขียวและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  เช่น  ต้นข้าวโพด  ข้าว  ต้นหญ้าคา  หรือต้นหญ้าขน  มาตัดตามขวาง ดังกิจกรรมที่ 12.2  จากนั้นนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นดังรูป


ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม

1. เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ และการจัดเรียงตัวของท่อลำเลียงในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่  และ  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่มีมัดท่อลำเลียงเรียงเป็นระเบียบเป็นวง โดยมีวาสคิวลาร์แคมเบียมอยู่ระหว่างไซเลมกับโฟลเอ็ม  ส่วนลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว คอร์เทกซ์มีอาณาจักรแคบมากแบ่งได้ไม่ชัดเจนเพราะมัดท่อลำเลียงกระจายไปทั่ว  และไม่มีวาสคิวลาร์คั่นระหว่างไซเลมและโฟลเอ็ม
2.   เปรียบเทียบเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก  และลำต้นว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ     การเปรียบเทียบอาจเป็นดังนี้

ข้อเปรียบเทียบ
ราก
ลำต้น
1.  เอพิเดอร์มิส

2.  คอร์เทกซ์
3.  สตีล
4.  มัดท่อลำเลียง


5.  เอนโดเดอร์มิส


6.  เพริไซเคิล
7.  พิธ



8.  จุดกำเนิดของแขนง
1.  มีขนราก

2.  กว้าง
3.  แคบ
4.  ไซเลมและโฟลเอ็ม
     อยู่สลับกันตามแนวรัศมี

5.  มีเห็นได้ชัดเจน


6.  มี  
7.  มีในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
      แต่ใบเลี้ยงคู่ไม่มี 


8.  แตกออกมาจากส่วนเพริไซเคิล
1.  อาจมีขนหรือเปลี่ยน
     เป็นหนามหรือต่อม
2.  แคบ
3.  กว้าง
4.  โฟลเอ็มอยู่ด้านนอก
     ไซเลมอยู่ด้านในแนว
     รัศมีเดียวกัน
5.  ส่วนใหญ่ไม่มี  และถ้ามี
     เห็นได้ไม่ชัดเจน  เช่น 
     ต้นหมอน้อย
6.  ไม่มี
7.  มีทั้งในใบเลี้ยงเดี่ยว และ
     ใบเลี้ยงคู่  แต่ในใบเลี้ยง
     เดี่ยวพิธอาจสลายกลาย
     เป็นช่องพิธ
8.  อาจแตกออกมาจาก
     คอร์เทกซ์

3.  นักเรียนทราบได้อย่างไรว่า  โครงสร้างตัดตามขวางที่เห็นในกล้องจุลทรรศน์  เป็นส่วนของลำต้นใกล้ยอดหรือใกล้โคนลำต้น
ตอบ   เนื้อเยื่อปลายยอดของพืชใบเลี้ยงคู่ตัดตามขวาง  จะเห็นมัดท่อลำเลียงเป็นกลมๆ เรียงเป็นระเบียบรอบลำต้น  แต่ติดสีย้อมไม่ชัดเจน สำหรับเนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ทางด้านโคนต้นจะเห็นมัดท่อลำเลียงเรียงเป็นระเบียบและติดสีเห็นได้ชัดเจนมาก  เนื่องจากเนื้อเยื่อส่วนนี้มีอายุนานกว่าเนื้อเยื่อส่วนยอดซึ่งมีสารพวกลิกนินมาพอก เมื่อย้อมสีลิกนินจะติดสีได้ชัดเจนกว่าเนื้อเยื่อส่วนยอดที่ไม่มีสารลิกนินมาพอก
4.  นักเรียนจะสรุปผลการทำกิจกรรมได้ว่าอย่างไร
ตอบ   เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวจะคล้ายกัน คือ ประกอบด้วย  เอพิเดอร์มิส  มัดท่อลำเลียง  และพิธ  ในพืชใบเลี้ยงคู่  ระหว่างไซเลมและโฟลเอ็มจะมีแคมเบียมคั่น  ในขณะที่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีแคมเบียมคั่นและโครงสร้างพิธในพืชใบเลี้ยงคู้จะเห็นได้ชัดเจน การจัดเรียงตัวของมัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่จะเป็นระเบียบกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเรียงตัวกันอย่างกระจัดกระจาย


สรุปผลการทดลอง
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวจะคล้ายกัน  คือ ประกอบด้วย  เอพิเดอร์มิส  มัดท่อลำเลียง  และพิธ  ในพืชใบเลี้ยงคู่  ระหว่างไซเลมและโฟลเอ็มจะมีแคมเบียม คั่น  ในขณะที่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีแคมเบียม คั่น และโครงสร้างพิธในพืชใบเลี้ยงคู้จะเห็นได้ชัดเจน  การจัดเรียงตัวของมัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่จะเป็นระเบียบกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งเรียงตัวกันอย่างกระจัดกระจาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น